เมนู

ย่อมรุ่งเรืองในเวลาประดับแล้วเท่านั้น, พระขีณาสพ ละความระคนด้วย
หมู่แล้ว ย่อมรุ่งเรืองในภายในสมาบัติเท่านั้น, ส่วนพระพุทธเจ้า ย่อม
รุ่งเรืองด้วยเดช 5 อย่าง ทั้งในกลางคืน ทั้งในกลางวัน " ดังนี้แล้ว
ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
5. ทิวา ตปติ อาทิจฺโจ รตฺติมาภาติ จนฺทิมา
สนฺนทฺโธ ขตฺติโย ตปิต ฌายี ตปติ พฺรหฺมโณ
อถ สพฺพมโหรตฺตึ พุทฺโธ ตปติ เตชสา.
" พระอาทิตย์ ย่อมส่องแสงในกลางวัน,
พระจันทร์ ย่อมรุ่งเรืองในกลางคืน, กษัตริย์ ทรง
เครื่องรบแล้ว ย่อมรุ่งเรือง, พราหมณ์ผู้มีความเพ่ง
ย่อมรุ่งเรือง. ส่วนพระพุทธเจ้า ย่อมรุ่งเรืองด้วยเดช
ตลอดกลางวันและกลางคืน."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า ทิวา ตปติ ความว่า พระอาทิตย์
ย่อมรุ่งเรืองเฉพาะในกลางวัน, แต่แม้ทางที่พระอาทิตย์นั้นไปในกลางคืน
หาปรากฏไม่.
บทว่า จนฺทิมา ความว่า แม้พระจันทร์ ที่พ้นแล้วจากหมอก
เป็นต้น ก็รุ่งเรืองเฉพาะในกลางคืน, หารุ่งเรืองในกลางวันไม่.
บทว่า สนฺนทฺโธ ความว่า พระราชาผู้ทรงประดับด้วยเครื่อง
อิสริยาภรณ์ทั้งปวงอันวิจิตรด้วยทองและแก้วมณี อันเสนามีองค์ 41
แวดล้อมแล้วเท่านั้น ย่อมรุ่งเรือง, ท้าวเธอประทับอยู่ด้วยเพศอันบุคคล
ไม่รู้ (ปลอมเพศ) หารุ่งเรืองไม่.
1. พลช้าง พลม้า พลรถ พลเดินเท้า.

บทว่า ฌายี ความว่า ฝ่ายพระขีณาสพ เปลื้องหมู่แล้ว เพ่งอยู่
เทียว ชื่อว่าย่อมรุ่งเรือง.
บทว่า เตชสา ความว่า ส่วนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงครอบงำ
เดชแห่งการทุศีลด้วยเดชแห่งศีล เดชแห่งคุณอันชั่ว ด้วยเดชแห่งคุณ
เดชแห่งปัญญาทรามด้วยเดชแห่งปัญญา เดชแห่งสิ่งมิใช่บุญด้วยเดชแห่ง
บุญ เดชแห่งอธรรมด้วยเดชแห่งธรรม ย่อมรุ่งเรืองด้วยเดช 5 อย่างนี้
ตลอดกาลเป็นนิตย์ทีเดียว.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระอานนทเถระ จบ.

6. เรื่องบรรพชิตรูปใดรูปหนึ่ง [269]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภบรรพชิต
รูปใดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " พาหิตปาโป " เป็นต้น.

พราหมณ์บวชนอกพระพุทธศาสนา


ได้ยินว่า พราหมณ์คนหนึ่งบวชแล้ว ด้วยการบวชในภายนอก
(พระศาสนา) คิดว่า " พระสมณโคดม เรียกสาวกของพระองค์ ' บรรพชิต '
ส่วนเราก็เป็นบรรพชิต, การพระองค์เรียกเราอย่างนั้นบ้าง ก็ควร " แล้ว
เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลถามเนื้อความนั่น.
พระศาสดาตรัสว่า " เราหาเรียกว่า ' บรรพชิต ' ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
ไม่, ส่วนบุคคลผู้ชื่อว่าเป็นบรรพชิต เพราะความที่มลทินคือกิเลสทั้งหลาย
อันตนเว้นได้ขาด " ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า:-
6. พาหิตปาโป หิ พฺราหฺมโณ
สมจริยา สมโณติ วุจฺจติ
ปพฺพาชยมตฺตโน มลํ
ตสฺมา ปพฺพชิโตติ วุจฺจติ.
" บุคคลผู้มีบาปอันลอยแล้วแล เราเรียกว่า
'พราหมณ์,' บุคคลที่เราเรียกว่า ' สมณะ' เพราะ
ความประพฤติเรียบร้อย, บุคคลขับไล่มลทินของตน
อยู่ เพราะเหตุนั้น เราเรียกว่า ' บรรพชิต."